วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้น (อังกฤษ:tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ
ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100
เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด


พรรณไม้เด่น


ลักษณะทั่วไปเป็นป่ารกทึบ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด ต้นไม้ชั้นบนส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) ซึ่งมีลำต้นสูงใหญ่ตั้งตรง ตั้งแต่ 30-50 เมตร พืชสำคัญที่พบเห็นได้ตามป่าดิบชิ้นทั่วไป ได้แก่ ยางมันหมู Dipterocarpus kerrii, ยางยูง D. grandiflorus, ยางเสียน D. gracilis, ยางวาด D. chartaceus, ยางกล่อง D. dyeri, ยางเกลี้ยง D. hasseltii, กะบาก Anisoptera curtisii, ตะเคียนชันตาแมว Neobalanocarpus heimii, เคี่ยม Cotylelobium lanceolatum, ไข่เขียว Parashorea stellata, ตะเคียนทอง Hopea odorata, ตะเคียนขาว H. pedicellata, ตะเคียนแก้ว H. sangal, ตะเคียนราก H. latifolia, แอ๊ก Shorea glauca, สยา S. laevis, กาลอ S. faguetiana, ตะเคียนสามพอน S. gratissima, กะบากหิน S. hypochra, สยาเหลือง S. curtisii, มารันตี S. dasyphylla, สยาขาว S. leprosula, ชันหอย S. macroptera, สยาเหลือง S. parvifolia, มารันตีเสงวาง S. singkawang, พันจำดง Vatica lowii, พันจำ V. odorata


ถัดมาไม้ชั้นกลาง เป็นไม้ต้นขนาดกลางและเล็ก ได้แก่ หลุมพอ สะตอ ยวน หยี สัตบรรณ ชันรูจี อินทนิลน้ำ ปาล์มบังสูรย์ พุงทะลาย ท้ายเภาขาว พระเจ้าห้าองค์ ส่วนพืชชั้นล่างเป็นพืชล้มลุกต่างๆ เช่น ระกำ หวาย ไผ่ เถาวัลย์ นอกจากนี้มักพบ พืชอิงอาศัย จำพวกเฟิน และมอส และอาจพบเห็ดราชนิดต่างๆด้วย