วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

มะม่วง กับ สุขภาพของเรา




คุณประโยชน์ของมะม่วง
ประโยชน์ด้านหลักที่มนุษย์ ได้รับจากมะม่วง ก็คือ ด้านอาหาร ผลมะม่วงได้รับการยกย่องในประเทศอินเดีย อันเป็นถิ่นกำเนิดว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” ผลมะม่วงสามารถนำมากินได้ตั้งแต่ยังอ่อน ที่ชาวไทยเรียกว่ามะม่วง “ขบเผาะ” นั่นเอง เมื่อผลแก่มะม่วงจะมีทั้งรสเปรี้ยวหรือหวาน เนื่องจากมะม่วงมีมากมายหลายพันธุ์ จึงมีความแตกต่างในด้านรูปร่าง ขนาด รสชาติ กลิ่น สี ฯลฯ ของผล ทำให้เลือกนำมาบริโภคได้ตามความต้องการได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น เช่น ผลมะม่วงดิบรสเปรี้ยวอาจนำมาจิ้มพริกกับเกลือ หรือนำไปใช้ตำน้ำพริกแทนมะนาว นำไปใช้ยำเป็นกับข้าว ผลมะม่วงดิบรสมันหรือหวานใช้กินเช่นเดียวกับผลสุกที่มีรสหวาน นำไปทำขนมต่างๆ หรือแปรรูป เช่น มะม่วงกวน แยมมะม่วง มะม่วงดอง น้ำมะม่วง ฯลฯ นอกจากผลแล้ว ใบอ่อนและช่อดอกของมะม่วงยังนำมากินเป็นผักได้อย่างหนึ่งด้วยมะม่วง มีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย ในประเทศอินเดียนำใบมะม่วงมาตากแห้งป่นเป็นผง ใช้รักษาโรคท้องร่วงและเบาหวาน ใบมะม่วงสดใช้เคี่ยวรักษาโรคเหงือก เนื้อในเมล็ดมะม่วงใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม น้ำคั้นจากเมล็ดมะม่วงใช้แก้เลือดกำเดาไหล เป็นต้นตำราสรรพคุณยาไทย กล่าวถึง สรรพคุณด้านสมุนไพรของมะม่วงเอาไว้หลายประการ เช่น ผลสุกใช้บำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อนๆ และขับปัสสาวะ เปลือกผลดิบเป็นยาคุมธาตุ ดอก เปลือก เนื้อในเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง บิด อาเจียน ใบแห้งเผาเอาควันสูดใช้รักษาโรคเกี่ยวกับหลอดลม ยางจากผลและต้นผสมกับน้ำส้มหรือน้ำมันทาแก้คันแก้โรคผิวหนัง เป็นต้นดัง ที่ได้กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่า มะม่วงถูกมนุษย์นำมาเพาะปลูกนานกว่า 4 พันปีแล้ว ทำให้มนุษย์มีความผูกพันกับมะม่วงมาก ชาวฮินดูเชื่อว่ามะม่วงกำเนิดมาจากภูเขาไกลาส อันเป็นที่ประทับของพระอิศวร ยิ่งกว่านั้นบางคัมภีร์ยังกล่าวว่า มะม่วงเป็นภาคหนึ่งของพระพรหม ชาวฮินดูจึงนับถือมะม่วงเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งในพิธีกรรมต่างๆ ที่เป็นมงคลต้องใช้มะม่วงเป็นส่วนประกอบด้วยเสมอไม่เฉพาะชาวฮินดู เท่านั้นที่ถือว่ามะม่วงเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ แต่ชาวพุทธก็เช่นเดียวกัน คงเป็นเพราะพุทธศาสนาก็มีกำเนิดในอินเดียด้วยนั่นเอง ตัวอย่างเรื่องราวของมะม่วงที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเรื่องหนึ่งก็คือ ชาวพุทธเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วง ซึ่งเรียกว่า คัณฑามพพฤกษ์ ณ เมืองสาวัตถี เนื่องจากยมกปาฏิหาริย์เป็นสุดยอดปาฏิหาริย์ซึ่งทำได้เฉพาะพระพุทธองค์เท่า นั้น และทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงนับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ ที่พุทธศาสนามีต่อหมู่เดียรถีย์ (พวกไม่มีศาสนา) และลัทธิอื่นๆในยุคนั้น ชาวพุทธจึงนับถือมะม่วงว่าเป็นต้นไม้พิเศษที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์เช่น เดียวกับต้นไม้บางชนิด เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นสาละ เป็นต้นในตำรา ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านของคนไทยตั้งแต่โบราณ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย กำหนดให้ปลูกมะม่วงในทิศใต้ของบ้าน มะม่วงกับคนไทยนั้นมีความผูกพันที่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรมา นานกว่า 700 ปี และความผูกพันนี้ยังคงเหนียวแน่นไม่เปลี่ยนแปลง ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างรูปแบบความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อมะม่วง ซึ่งแสดงออกในรูปกวีนิพนธ์ของรัตนกวีท่านหนึ่งของไทยเมื่อ 250 ปีก่อนโน้น คือ พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ
* หมากม่วงดิบ ห่ามฝาน ใส่ในจานพานตบะรอง

นั่งล้อมห้อมเนือง นอง จิ้มน้ำปลางาปิกิน ฯ


* หมากม่วงดิบ ห่ามให้ ปอกฝาน

งาปิน้ำปลาจาน จุ่มจิ้ม


นั่งล้อมห้อมกินกราน กินอยู่


เข็ดฟันผันหน้ายิ้ม อิ่มเอื้อน ราถอย ฯ


ประโยชน์ขององุ่น
















องุ่น เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี ทั้งรสหวาน เปรี้ยว มีขายทั่วไป ปลูกกันมากกว่า 5000 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว เขตกึ่งร้อนกึ่งหนาว และเขตร้อน ประโยชน์ต่อสุขภาพ







องุ่น เป็นอาหารบำรุงร่างกายอีกชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหาร ยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีหลายชนิด สารอาหารที่สำคัญ คือน้ำตาล และสารอาหารจำพวกกรดอินทรีย์อีกประมาณ 7-8 ชนิด น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโคส วิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเหล็ก และแคล เซี่ยมองุ่นยังสามารถนำไปทำเหล้าองุ่น ซึ่งเป็นเหล้าบำรุง ส่วนเครือและราก ใช้เป็นยาขับลม ขับปัสสาวะ รักษาโรคไขข้ออักเสบ ปวดเอ็นกระดูก และมีฤทธิ์ระงับประสาท แก้ปวด แก้อาเจียนอีกด้วย การรับประทานองุ่นเป็นประจำ จะมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ แก้กระหาย ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง คนที่ร่างกายผอมแห้ง แรงน้อย แก่ก่อนวัย ไม่มีเรี่ยวแรง ถ้ารับประทานองุ่นเป็นประจำ จะช่วยเสริมทำให้ร่างกายค่อยๆแข็งแรงขึ้นได้




ผลจากการสำรวจทั่วโลกต่อความชื่นชอบในองุ่นพบว่า..ผู้คนในแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันในการเลือกชนิดขององุ่นในการรับประทาน ตัวอย่างเช่น ชาวออสเตรเลียจะเลือกองุ่นที่มีเนื้อแน่น ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นชอบองุ่นที่มีลูกขนาดใหญ่ สำหรับผลการสำรวจในประเทศไทยพบว่าร้อยละ 88 ของชาวไทยในความสำคัญกับความหวานจากองุ่นที่มีคุณภาพ รองลงมาคือความสด








องุ่นนับเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการให้คุณค่าทางโภชนาการและการบำรุงร่างกาย โดยองุ่นนั้นประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีชื่อว่า Phytonutrients มีคุณสมบัติในการต่อต้านโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โดยการปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายของอนุมูลอิสระที่มีสาเหตุมาจาก อากาศเป็นพิษ เช่น ควันพิษในเมืองใหญ่ หรือรังสีต่างๆ ที่เราต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่รังสีจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และจากโทรศัพท์มือถือ ผิวขององุ่นประกบอด้วยสารต้านอนุมูลอิสระชื่อว่า Reseratrol ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าสามารถรักษาภาวะอักเสบ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ตายก่อนเวลาอันสมควร อีกทั้งช่วยทำให้อายุยืนยาวขึ้นอีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ไวน์แดงถูกยกย่องว่ามีประโยชน์มากกว่าไวน์ขาว เพราะไวน์แดงใช้ผิวขององุ่นเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต ในขณะที่ไวน์ขาวไม่ได้ใช้ผิวองุ่นในกระบวนการผลิต

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

Jean-Jacques Rousseau


Jean-Jacques Rousseau, né le 28 juin 1712 à Genève et mort le 2 juillet 1778 à Ermenonville, est un écrivain, philosophe et musicien genevois de langue française. Il est l'un des plus illustres philosophes du siècle des Lumières et l'un des pères spirituels de la Révolution française. Tous se réclament de lui. Les révolutionnaires, d'un extrême à l'autre, prétendent « ne marcher que le Contrat social à la main ». Paradoxalement, les théoriciens de la contre-révolution (Joseph de Maistre, Louis-Gabriel de Bonald) se réclament eux aussi de Rousseau. Il était considéré par Arthur Schopenhauer comme le « plus grand des moralistes modernes ». Schopenhauer disait : « Ma théorie a pour elle l'autorité du plus grand des moralistes modernes : car tel est assurément le rang qui revient à J.-J. Rousseau, à celui qui a connu si à fond le cœur humain, à celui qui puisa sa sagesse, non dans des livres, mais dans la vie ; qui produisit sa doctrine non pour la Chaire, mais pour l'humanité ; à cet ennemi des préjugés, à ce nourrisson de la nature, qui tient de sa mère le don de moraliser sans ennuyer, parce qu'il possède la vérité, et qu'il émeut les cœurs ». Ses travaux ont influencé grandement l'esprit révolutionnaire français. Il est particulièrement célèbre pour ses travaux sur l'homme, la société ainsi que sur l'éducation. La philosophie politique de Rousseau se situe dans la perspective dite contractualiste des philosophes britanniques des XVIIe et XVIIIe siècles, et son fameux Discours sur l'inégalité se conçoit aisément comme un dialogue avec l'œuvre de Thomas Hobbes. Rousseau était d'une grande sensibilité. David Hume disait de Rousseau : « He has only felt during the whole course of his life, and in this respect his sensibility rises to a pitch beyond what I have seen any example of ; but it still gives him a more acute feeling of pain than of pleasure. He is like a man who was stripped not only of his clothes, but of his skin, and turned out in this situation to combat with the rude and boisterous elements ». Bertrand Russell d'ajouter : « This is the kindest summary of his character that is in any degree compatible with truth »