วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขงจื่อ(孔子)


เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื้อ เมื่อทศวรรษ1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมาก กว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย
ขงจื้อ (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่า”จื้อ ” เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น“อาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา“หยูเจีย”หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง
ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่
ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น“เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี”มาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่
ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ3ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม
ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล
ขงจื้อ“ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30”และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้“เนื้อตากแห้ง”เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี70คน จากสานุศิษย์70คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า“อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า“หลุนอวี่” บั้นปลายชีวิต ขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า“ชุนชิว”ขงจื้อยัง เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่“ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์)“ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้”อี้ว์จิง”(ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภาย หลัง)และ”หลี่จี้”
(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง5เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่า”อู่จิง”(คัมภีร์ทั้งห้า)
ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ”เหริน”หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่าน
อาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่าเหริน "
ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"
พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี479ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น