ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ป่าดิบชื้น
ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ที่มาวันฮาโลวีน
ทอร์นาโด
ทอร์นาโดแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด
พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553
Napoleon Bonaparte
Napoleon Bonaparte was born on August 15, 1769 in Ajaccio on the Mediterranean island of Corsica, the son of Carlo and Letizia Bonaparte. Through his military exploits and his ruthless efficiency, Napoleon rose from obscurity to become Napoleon I, Empereur des Francais (Emperor of the French). He is both a historical figure and a legend—and it is sometimes difficult to separate the two. The events of his life fired the imaginations of great writers, film makers, and playwrights whose works have done much to create the Napoleonic legend.
Napoleon decided on a military career when he was a child, winning a scholarship to a French military academy at age 14. His meteoric rise shocked not only France but all of Europe, and his military conquests threatened the stability of the world.
Napoleon was one of the greatest military commanders in history. He has also been portrayed as a power hungry conqueror. Napoleon denied those accusations. He argued that he was building a federation of free peoples in a Europe united under a liberal government. But if this was his goal, he intended to achieve it by taking power in his own hands. However, in the states he created,
วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553
DNA
วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553
ค่านิยมเกาหลีในปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้ใครต่อใครต่างรู้จัก “เกาหลี” ในหลากหลายมิติ จนก่อเกิดกระแส “เกาหลีฟีเวอร์”[1] ในปริมณฑลประเทศอื่นๆ กลายเป็นสายธารแห่งคลื่นทางวัฒนธรรมใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ จนได้รับขนานนามว่า “เอเชียภิวัฒน์” นอกเหนือจากวัฒนธรรม “ญี่ปุ่น” และ “จีน” ซึ่งได้แพร่อิทธิพลทางวัฒนธรรมในลักษณะกลิ่นไอความเป็นตะวันออกที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไป วัฒนธรรมเกาหลีมิได้หมายถึงความรุ่งเรืองในอดีตที่ถูกแช่แข็งทางวัฒนธรรม แต่หมายถึงโลกปัจปัจจุบันที่ประดิษฐ์วัฒนธรรม “ใหม่” ให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน และยังมีสูตรแห่งการผสมผสานระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ได้อย่างลงตัว ทำให้อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมได้เริ่มก่อตัวและเติบโตขึ้นซึ่งส่งผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศเป็นอย่างมาก[2] ด้วยเหตุดังกล่าว ผมในฐานะนักเรียนด้านสังคมวิทยาที่ให้ความสนใจการเปลี่ยนรูปแบบวัฒนธรรมใหม่ของประเทศเกาหลี โดยให้ความสนใจถึงกระบวนการสร้างในเชิง “หน้าที่นิยม” และการตอบสนองกับสังคมที่แปรเปลี่ยนตามบริบท
มองเกาหลีในอดีต ผ่านผลงานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาพสะท้อนแห่งวัฒนธรรมเก่า สู่การนิยามใหม่ผ่านละครซีรี่ส์
เกาหลีมีประวัติศาสตร์มายาวนานโดยได้รับอิทธิพลจากจีนและผสมผสานกับวัฒนธรรมของตนเอง หลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญคือเครื่องใช้สำริดที่มีความคล้ายคลึงกับจีนมากจนมาถึงในยุคเล่อลั่งซึ่งได้รับต้นแบบงานศิลปกรรมจากราชวงศ์ฮั่น แต่ในขณะเดียวกันเกาหลีก็ยังพัฒนาเครื่องใช้ อาทิ อศิราภรณ์มงกุฏ และชุดเครื่องทองรวมไปถึงยุทโธปกรณ์ในแบบ ต่างๆ ตามแบบ”เกาหลี” โดยสร้างลวดลายที่ปราณีตเชื่อมโยงกับระบบความเชื่อวัฒนธรรมและรสนิยมท้องถิ่นได้อย่างลงตัว ตรงจุดนี้ทำให้งานศิลปกรรมเกาหลีเกิดความแตกต่างไปจากวัฒนธรรมจีนและเป็นกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ ใหม่ ผ่านงานหัตศิลป์ ปราณีตศิลป์ ซึ่งจะโดดเด่นมากในยุคสามอาณาจักรอย่าง เพจเจ ซิลลา โกกุเรียว และอาณาจักรคายา(เป็นชนเผ่าทั้งหกที่รวมตัวกันและถูกกลืนกับอาณาจักรซิลลา) ซึ่งได้ถ่ายทอดผ่านซีรี่ส์ละครในเรื่อง “จูมง” ที่อธิบายเรื่องราวและรายละเอียดได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งการเปลี่ยนผ่านในการรวมอาณาจักรซิลลาและแคว้นอื่นๆผนวกเข้าด้วยกันขับไล่จีนในราชวงศ์สุยที่พยายามจะมามีอิทธิลในคาบสมุทรเกาหลี ยึดโยงความเป็นชาติพันธุ์อย่างแนบแน่นและสร้างความเป็นปึกแผ่นผ่านบูรณภาพทางการเมือง ภาพสะท้อนในซีรี่ส์เรื่องจูมงทำให้เห็นถึงความพยายามที่จะพัฒนาตนเองและปรับตัวเพื่อการธำรงชาติพันธ์ให้อยู่รอดและสร้างความเป็น “เกาหลี” ในแบบฉบับของตนเอง
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในเกาหลีได้เปลี่ยนโครงสร้างทางวัฒนธรรมใหม่อยู่ตลอดทุกยุคทุกสมัยโดยสะท้อนการดัดแปลง ลัทธิขงจื่อในจีน สู่ความเป็น “ขงจื่อใหม่” ในเกาหลีผ่านระบบการปกครองในสมัยโชซอน และยังไม่ละทิ้งความเป็นเกาหลีที่นับถือภูติผีและวิณญาณตามระบบความเชื่อดั้งเดิม ในราชวงศ์โชซอนนั้นยังได้ปลูกฝังความรักชาติด้วยสติปัญญาของชนพื้นเมืองโดยการสร้างประวัติศาสตร์ที่ยึดโยงกับปกรณัม ของ “ตันกุ๋น วัง ก็ออม”[3] และผลงานที่สำคัญของยุคโซซอนคือการประดิษฐ์อักษรเกาหลีในสมัยพระจ้าเซจองที่เรียกว่า “ฮังกึล”ซึ่งยังตกทอดมาถึงปัจจุบัน
ซีรี่ส์เกาหลีในมิติใหม่ “ผสมผสาน” “ ดัดแปลง” และ “นิยามใหม่” ตามไสตล์ เกาหลี
ภาพละครในซีรีส์เกาหลี ได้หยิบยก ความเป็นสังคมเมือง ในโซล เป็นหลัก ที่ได้เปลี่ยนผ่านตนเองสู่ความเป็นสังคมวัฒนธรรมใหม่( modern society) ในหลายๆฉากสะท้อนถึงความวุ่นวายของการจราจร เมืองธุรกิจและการค้า ปฎิสัมพันธ์ของคนเมือง การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ แฟชั่น การกินอาหาร และการทำงานหนัก แต่ก็ไม่ละเลยที่จะทิ้งภาพต่างจังหวัด ความเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นเพของบางตัวละครที่ต้องมาปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ตนเองในปริมณฑลเมือง แต่ก็มีการโหยหาอดีต และมีระเบียบวิถีชีวิตที่สงบเรียบง่าย ซึ่งปรากฏให้เห็นใน หลายๆเรื่อง ได้นำฉากโดยนำเสนอภาพอดีตของเกาหลีในอาณาจักรโชชอนโดยการย้อนอดีตชาติมาเสริมสร้างในเนื้อหาของ เรื่อง สะท้อนแบบแผนการปกครองในสมัยโชซอน ซึ่งมาประกอบสร้างในลักษณะที่ขบขันแต่กลับได้สาระที่ถูกผสมอยู่ในเนื้อหาที่นำเสนออีกด้วย อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจของปรากฏภาพวัฒนธรรมในอดีตที่นำมาเสนอในเรื่องราวปัจจุบัน อาทิ การไปท่องเที่ยวในพระราชวังโบราณ เห็นภาพจำลองของขุนนางในราชสำนัก รวมถึงนางกำนัล (ซัมกุง) การแต่งกาย ขนบประเพณีโบราณ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต เข้าไปใส่ในละครได้อย่างชาญฉลาด นั่นก็คือ เอาเรื่อง “โบราณ” มาประกอบในฉากในยุคสมัยใหม่ มีความกลมกลืนและยังได้เผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณะชน
วัฒนธรรม “ใหม่” ในไสตล์ เกาหลี กับความเป็นเมือง ที่มุ่งเน้นถึง สังคมแห่งการทำงานในยุคทุนนิยม การแข่งขันกันในอาชีพ ความชิงไหวชิงพริบในทางธุรกิจ และการเสพเทคโนโลยีและแฟชั่นแบบวัฒนธรรม บริโภคนิยม ซึ่งการนำเสนอเทคโนโลยีที่เกาหลีสร้างขึ้นเอง และยังสร้างแฟชั่นเกาหลี[4]ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและเขยิบพื้นที่ให้มีความเป็นสากลในรูปลักษณ์ใหม่ผ่านเครื่องแต่งกายของตัวละครทั้งในเพศหญิง และชาย เอกลักษณ์ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้งในละครซีรี่ส์เกาหลีก็คือ “การนัดเดท” เป็นการนัดดูตัวและพบปะกันเพื่อสานสัมพันธ์สู่การเป็นคู่ครองในอนาคตยิ่งสะท้อนสังคมเกาหลีสมัยใหม่ที่ทำงานจนไม่มีเวลาพบปะผู้คน
ตัวละครเกาหลีให้ความสำคัญกับการทำงานซึ่งเป็นหลักที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื้อ จนเป็นค่านิยมที่สำคัญในสังคม ในขณะที่ละครไทยมักจะไม่เน้นสิ่งเหล่านี้มากนัก แต่กลับอาศัยการได้งานมาที่เรียกว่า “ส้มหล่น” หรือ ตัวละครไม่ต้องทำงานเพราะไม่ใช่สาระสำคัญของเรื่องนอกเหนือจากการลอยชายไปมา แต่เกาหลีจะต้องต่อสู่กับงานมากมายกว่าจะเป็นที่ยอมรับในสังคม ต้องใช้ความขยันและเวลาพิสูจน์เพื่อพิสูจน์ตนเอง
แม้ว่าละครเกาหลีมักจะมุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรม “บริโภคนิยม” แต่ผมกลับมองว่าในประเด็นนี้กับมีความน่าสนใจคือ กระบวนการดังกล่าวไม่ได้ถูกอิทธิพลทางตะวันตกครอบงำ แต่กลับสร้างลักษณะใหม่ที่ผู้คนสามารถจำแนกได้ว่าแตกต่างกับตะวันตก และมีเอกลักษณ์ของความเป็นเกาหลี หากจะกล่าวถึงการแต่งกายแบบตะวันตกเราคงมองถึงการกางเกงส์ยีน เสื้อสบายๆ หรือสูตร แต่ความเป็นเกาหลีเน้นการใส่สูตรที่มีลักษณะกึ่งทางการ แตกต่างกับสูตรแบบตะวันตก ผู้หญิงแต่งกายในลักษณะกึ่งลำลอง กึ่งทางการ หรือหรูหรา แล้วแต่โอกาส แสดงถึงการให้ความสำคัญกับกาละเทศะของการใช้การแต่งกายเพื่อแสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับพื้นที่ต่างๆ สิ่งนี้ผมขอเรียกว่า กระบวนการสร้าง “รสนิยมการแต่งกาย”แบบเกาหลี และพี่ไทยยังเอามาลอกเลียนแบบไม่อายด้วยครับ แสดงว่าพี่ไทยยังคิดว่า “ดูดี” มีความเป็นสากล จนต้องทำตาม
วิถีชีวิตในกรุง โซล อาจดูมีความเป็นตะวันตก และมีความเป็นเมืองสูง ได้ถูกเปลี่ยนแปลงตามแบบอย่างสังคมสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญกับความเป็น เกาหลีแบบเก่า ที่นำมาผสมผสานได้อย่างลงตัว แม่ว่าจะเป็นมุมเล็กๆอย่างวิถีวัฒนธรรมการกินของตัวละครซึ่งนิยมเข้าร้านอาหารต่างชาติ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นความเป็นเกาหลี เพราะยังชอบรับประทานกิมจิ ซุป หรือร้านนั่งดื่มไสตล์เกาหลี อยู่นั่นเองและดัดแปลงรสชาติอาหารต่างประเทศให้ตรงกับรสชาติให้ถูกปากกับคนเกาหลี ตรงจุดนี้เป็นการสร้างอุดมการณ์ความรักชาติที่สะท้อนผ่านซีรีส์ได้เป็นอย่างดี หากตัวละครไทยยังชอบรับประทานแกงเขียวหวานหรือต้มยำกุ้งที่สั่งในเมนูร้านอาหารก็คงจะดีไม่น้อย
เนื้อหาของละครไทยเมื่อเปรียบเทียบกับเกาหลีแล้วยังขาดความร่วมสมัยที่จะนำวัฒนธรรมมาผสานกัน และแบ่งแยกอย่างชัดเจน เช่นละครย้อนยุคก็จะเน้นความเก่าแก่ โบราณ ละครยุคสมัยใหม่ก็เต็มไปด้วยการครอบงำแบบ เก่า ที่นิยมความสัมพันธ์เชิงอำนาจให้ผู้ชายมากดขี่ผู้หญิง ผ่านการข่มขืน ปล้ำ จูบ และนำมาสู่ความรัก ในขณะเดียวกันสังคมเกาหลีกลับใช้ความสวย ฉลาด บุคลิกในแบบเน้นความเป็นตนเองมาเป็นอำนาจดึงดูดผู้ชายให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจได้ ถึงแม้ว่า ผู้ชายเหล่านั้นจะสมบูรณ์แบบเพียงใด ก็ต้องเปลี่ยนใจมารักนางเอก เสน่ห์หนึ่งของตัวละครเกาหลีเน้นความสัมพันธ์แบบจุลภาค ให้ความสัมพันธ์กับตัวละครไม่กี่คน ทำให้เชื่อมโยงง่ายและเป็นเอกภาพ ผมคิดว่าวิธีนี้น่าจะทำให้เราเห็นรูปแบบวิถีชีวิตบบเกาหลี ผ่านตัวละครได้ลึกและชัดเจนขึ้น ซึ่งแตกต่างกับไทยที่ให้ความสัมพันธ์กับตัว ระดับมหภาค ความสัมพันธ์จึงดูคลุมเครือขาดการเชื่อมโยงสัมพันธ์ของตัวละครแบบชัดเจนจนดูแล้วไม่สามารถเข้าใจแบบตรรกะได้เพราะเนื้อหา ขาดเอกภาพ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นเหตุและปัจจัยของตัวละครได้อย่างเต็มที่
เคยมีคนสงสัยและถามผมว่า ทำไมละครเกาหลีถึงเน้นความสัมพันธ์แบบสี่คน? และมีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ผมคิดว่าสิ่งที่ผมโยงน่าจะเป็นคำตอบได้ดี ผมคิดว่าคงเป็นเพราะการสร้างไสตล์ของตัวละครแบบนี้ทำให้คนทั่วไปทราบว่านี่คือ “ซีรี่ส์เกาหลี” นั่นเอง ที่สำคัญยังสามรถผลิตอุดมการณ์ทางความคิด แบบเข้าใจได้ง่ายซึมซับได้เร็วและสะเทือนอารมณ์อย่างถึงที่สุด
ละครเกาหลียังแฝงไปด้วยอุดมการณ์ชาตินิยม เต็มไปด้วยการต่อสู้ ความเป็นปึกแผ่นและการธำรงรักษาประเทศผ่านละครย้อนยุค และยังสอนถึงค่านิยมแบบ ยึดหลักคุณธรรม ความพยายามซึ่งนำมาสู่ความสำเร็จ แม้แต่ละครในแบบสมัยใหม่ก็ยังนำเสนอเรื่องราวที่เน้นย้ำตรงจุดนี้ ทั้งการต่อสู้ในด้านการเรียน(กฏหมายรักฉบับฮ่ร์วาด) การต่อสู่กับแรงกดดันเพื่อเป็นที่ยอมรับในสังคม(ลุ๊กกี้ น้องใหม่เบอร์หนึ่ง หรืออินวินซิเบิ้ล) การต่อสู้เพื่อความรัก(หลายๆเรื่อง) และการเสียสละ เพื่อชาติบ้านเมือง(จูมง)เป็นหลัก ทำให้ผมไม่แปลกใจเลยว่า คนเกาหลีมีความเป็นชาตินิยมสูง
หากจะลองมองวัฒนธรรมเกาหลีเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมไทยแล้วผมคิดว่า บ้านเราพยายามจะแช่แข็งวัฒนธรรมในอดีตให้อยู่ในปัจจุบัน เลยลืมมองไปว่า วัฒนธรรมแบบ “ล้าสมัย” ใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่? ในยุคปัจจุบัน ผมเชื่อว่าวัฒนธรรมเองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และปรับตัวเพื่อตอบสนองสังคม การที่เราพยายามที่จะสร้างความเป็นไทย หรืออุดมการณ์แบบอนุรักษ์อดีต ต้องมองถึงความเป็นจริงทางสังคม ว่าเราต้องประดิษฐ์วัฒนธรรมให้มีความร่วมสมัย มากกว่าที่จะนำมาขึ้นหิ้งและเชิดชู มโนทัศน์ของของไทยจึงถูกจัดแบ่งแบบสองขั้วซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ยึดติดกับอุดมคติในอดีตและอนุรักษ์คุณค่าแบบสวนทางโลกปัจจุบัน กับขั้วที่ตามวัฒนธรรมและก้าวสู่โลกใหม่แบบขาดฐานความคิดร่วมสมัย ผมขอเรียกปรกฏการณ์นี้ว่า มโนทัศน์แบบคู่ตรงข้าม ซึ่งหมายถึงของเก่าเชย ของใหม่ทันสมัย ของเก่าดี ของใหม่ไม่เหมาะสม เปรียบเสมือนทางสองแพร่งที่มิอาจจะมาบันจบกันได้
วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553
ที่มาของเครื่องสำอาง
2. ยุคโรมันในยุคที่โรมันเรืองอำนาจชาวโรมันได้เข้าไปครอบครองกรีกและอียิปต์
ไปจนถึงเมืองอเล็กซานเดรีย บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ยุคนี้คือ จูเลียส ซีซาร์ (Jullius Caesar) มาร์ค แอนโทนี (Marcus Antonius) และ พระนางคลีโอพัตราที่ 7 (Cleopatra VII) ซึ่งพระนางคลีโอพัตรา รู้จักการเสริมสวยทำให้เป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น และยังเป็นผู้คิดค้นเครื่องสำอางหลายประเภทชาวโรมันได้รับอิทธิพลจากชาวกรีกและชาวอียิปต์ จึงทำให้รู้จักศิลปะการใช้เครื่องสำอาง และการแต่งกาย
3. ยุคมืดหลังจากอาณาจักรโรมันได้เสื่อมอำนาจลง
เนื่องจากเกิดสงครามทางศาสนา ความเจริญก้าวหน้าทางเครื่องสำอางก็หยุดชะงัก แต่ในขณะเดียวกัน ในโลกตะวันออกกลับมีความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการใช้เครื่องสำอาง นำโดยประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งได้ทำการค้าติดต่อกับประเทศทางยุโรป ผ่านทางเอเชียไมเนอร์ หรือเอเชียตะวัตกเฉียงใต้ โดยมีการซื้อขายสินค้าต่างๆ เช่น เครื่องเทศ ผ้า รวมทั้งเครื่องสำอาง
4. ยุคอิสลาม ยุคอิสลามอยู่ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 7 – 12
หลังจากเสร็จสิ้นสงครามหลายศตวรรษ ความเจริญก็ได้เกิดขึ้นบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวอาหรับ ในยุคนี้เป็นยุคของการเกิดศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ พระมะหะหมัด การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ทำให้สามารถรวมรวบอาณาจักรตั้งแต่ซีเรียจดประเทศอียิปต์ และยังข้ามไปทวีปแอฟริกาไปยึดครองประเทศสเปนและยุโรปบางส่วนได้ ชาวอาหรับมีข้อดีคือ เมื่อสามารถยึดครองประเทศใดได้ จะไม่เผาทำลายบ้านเมือง แต่จะนำเอาวิชาการของประเทศนั้นๆ มาใช้ ในยุคนี้มีบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการเครื่องสำอางคือ อิบน์ ซีนา (Ibn Sina) เป็นชาวเปอร์เซียที่ค้นพบวิธีการกลั่นน้ำหอมจากดอกกุหลาบ (rose water) อีกคนหนึ่งคือ อาบู มอนเซอ มูวาฟแฟส (Abu Monsur Muwaffax) เป็นเภสัชกรชาวเปอร์เซียที่ค้นพบความมีพิษของทองแดงและตะกั่วในเครื่องสำอาง และยังค้นพบว่า สามารถใช้แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ในการกำจัดขน อีกคนที่สำคัญก็คือ อูมาร์ อิบน์ อัล-อาดิม (Umar Ibn Al-Adim) เป็นนักประวัติศาสตร์และครู ชาวซีเรีย ได้เขียนคู่มือเกี่ยวกับการทำน้ำหอมไว้มากมาย ยุคอิสลามนี้เรืองอำนาจอยู่ 300 ปี ก็เสื่อมอำนาจลงเนื่องจากแพ้สงครามแก่ชาวคริสเตียนในประเทศสเปนและหมู่เกาะซิซิลี
5. ยุคยุโรปเริ่มเฟื่องฟูยุคยุโรปเริ่มเฟื่องฟูนี้ อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษ
ที่ 9 –10 โดยเริ่มแรกความเจริญรุ่งเรืองจะอยู่บริเวณยุโรปตอนใต้ แถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน แต่หลังจากที่มีการเผลแพร่ศาสนาคริสต์เข้าสู่ประเทศในยุโรป ก็ได้มีการเผยแพร่อารยธรรมและวัฒนธรรมเข้าไปด้วย โดยถือว่ากรุงโรมเป็นศูนย์กลางที่ได้รับการเผยแพร่อารยธรรมและวัฒนธรรม
6. ยุคยุโรปก้าวหน้ายุคยุโรปก้าวหน้า ถือเป็นยุคทองของยุโรป อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 – 16
เป็นยุคที่ชาวยุโรปเริ่มมีการแสวงหาความรู้ทุกสาขาวิชา ได้มีการเปิดสถานที่ในการสอนวิทยาการทางการแพทย์และเภสัชกรรม โดยตั้งโรงเรียนที่เมืองซาลาโน (Salarno) และเปิดมหาวิทยาลัย ที่เมืองเนเปิลส์ (University of Naples) และมหาวิทยาลัยแห่งโบโลญา (University of Bologna) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการรักษาโดยการทำศัลยกรรมเป็นแห่งแรก และมีความเกี่ยวข้องกับเครื่องสำอางในยุคนี้ เป็นยุคที่ชาวยุโรป มีความรู้ในการผลิตน้ำหอมจากพืชและสัตว์บางชนิด และสามารถทำรูจ (rouge) สำหรับทาแก้มจากดินสีแดงที่เรียกว่า ซินนาบาร์ (cinnabar) ซึ่งมีไอร์ออน ออกไซด์ เป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ ยังสามารถทำแป้งทาหน้าจาก เลดคาร์บอเนต และรู้จักการทำน้ำมันแต่งผมจากน้ำมันพืชและน้ำมันดินจากธรรมชาติ
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553
เปิดตำนาน(ชื่อ)เมืองพิสดารแดนอินทรี
วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วัยรุ่นกับเสพย์ติด
เทคนิคป้องกันภัยจากไวรัส
ลำดับที่ 3 เนื่องจากไวรัสถูกสร้างขึ้นมาด้วยเวลาอันสั้น โดยเฉพาะไวรัสเครือข่าย คุณไม่ควรทิ้งให้คอมพิวเตอร์ และ/หรือจุดเชื่อมต่อไร้สาย (แอ็กเซสพอยท์) เปิดให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ไม่เพียงแต่เปลืองไฟเท่านั้น แต่ยังเปิดช่อโหว่ให้วายร้ายในโลกมืดที่กำลังมองหาช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายที่มีระบบป้องกันที่หละหลวม หรือไม่ได้ป้องกันเลย โดยแฮกเกอร์จะใช้การเชื่อมต่อฟรีเหล่านี้ไปกระทำการในทางไม่ดีต่าง ๆ ยิ่งกว่านั้น นอกจากไวรัสจะสามารถอัพเดตตัวเองโดยอัตโนมัติขณะที่เครื่องเปิดอยู่ได้ เวิร์มเครือข่ายตัวใหม่ ๆ อย่างเช่น แซสเซอร์ และโซท๊อป ก็ยังสามารถแพร่ติดคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซมช่องโหว่ล่วงหน้า ถึงแม้ว่าในขณะนั้นเจ้าของคอมพิวเตอร์จะไม่ได้กำลังใช้งานอยู่ก็ตาม
วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553
โทษของโทรศัพท์มือถือ
ประโยชน์ของผักบุ้ง
ผักบุ้งที่ทานกันอยู่มี 2 ประเภท